หมวดหมู่: หนังดราม่า Drama หนังชีวิต And หนังรัก Romantic เลิฟซีน, หนังฝรั่ง
IMDb: 8.4
เรื่องย่อ: ภาพยนตร์ที่เชื่อมโยงกับประเทศอิหร่านมักมีอยู่ 2 แนวทาที่พบเห็นกันทั่วไปในตลาด ซึ่งก็คือจากผู้กำกับตะวันตกที่วิพากษ์สังคม วัฒนธรรม การเมืองและศาสนาของอิหร่าน กับภาพยนตร์ของอิหร่านที่ทำในประเทศและเป็นผู้กำกับอิหร่านเอง ซึ่งจะถูกจำกัดเสรีภาพในการผลิตภาพยนตร์ จากกฎหมายที่เคร่งครัดและเข้มงวดจากการบังคับโดยใช้ศาสนาอิสลามเป็นหลักในการออกกฎหมายทั้งมวล ภาพยนตร์ Nader and Simin , A Separation ของผู้กำกับอิหร่าน Asghar Farhadi กล่าวได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอสังคมและวิถีชีวิตของสังคมชนชั้นกลางในสังคมเมืองของประเทศอิหร่านได้อย่างซื่อสัตย์และตรงไปตรงมาอย่างงดงามที่สุด การเคลื่อนกล้องแบบแฮนเฮลด์ ในรูปแบบสัจนิยม(Realism) ทำให้ผู้ชมสัมผัสได้ว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นในตัวเรื่องอาจเสมือนเป็นเรื่องปกติในชีวิตสังคมของอิหร่านโดยทั่วไป ภาพบ้านช่องห้องหับ ผู้คนขวักไขว่สัญจร วิถีชีวิตและความคิด หรืออะไรต่างๆมากมาย ทำให้เรื่องนี้ดูเหมือนเป็นหนังสารคดีซะมากกว่าเป็นหนังบันเทิงชั้นสูง เรื่องราวของ A Separation เริ่มต้นเพียงการดำเนินการหย่าร้างของสามีคู่หนึ่งนั่นก็คือ สามี Nader (Peyman Maadi)และภรรยา Simin (Leila Hatami) ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน โดยทางฝ่ายหญิงต้องการอพยพไปอยู่ต่างประเทศ แต่ฝ่ายชายไม่ยอมไป และไม่ยอมให้ลูกสาววัย 11 ปีไปกับเธอด้วย Termeh (Sarina Farhadi) มิหนำซ้ำภาระที่สำคัญก็คือต้องดูแลพ่อผู้ป่วยเป็นอัลซัลเมอร์ เมื่อทั้งสองมีแนวคิดไม่ตรงกันนั่นทำให้ทั้งสองต้องแยกจากกัน การแยกกันอยู่ในครั้งนี้ ภาระอันหนักอึ้งตกมาอยู่ฝ่ายสามีเพราะต้องกลายเป็นทุกอย่างในครอบครัว ทำให้เขาต้องจ้าง Razieh (Sareh Bayat) ผู้หญิงท้องแก่ลูกติดที่เคร่งครัดศาสนามาทดแทนการหายไปของSimin สิ่งที่ชัดเจนในสังคมอิหร่านก็คือเรื่องความศรัทธาในศาสนา เหตุการณ์ที่บ่งบอกชัดเจนก็คือฉากที่ Razieh ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าของพ่อ Nader ที่ฉี่รดกางเกง โดยเขาต้องโทรศัพท์ไปสอบถาม (ประมาณHotlineสายด่วน) ว่าถ้าเธอทำแบบนั้นหรือแบบนี้จะเป็นบาปไหม รวมทั้งการสาบานโดยตัวละครมักใช้ พระอัลเลาะห์หรือคัมภีร์อัลกุรอาน มาเป็นตัวแทนแห่งความสัจจะของตน แต่ทั้งหลายนั้นก็เป็นการวิพากษ์สังคมตัวเองในเชิงลึกว่า สิ่งที่ตัวละครกำลังทำอยู่นั้นไม่สามารถมีเสรีภาพของตัวเองในการตัดสินใจได้เลย มันเหมือนถูกปกคลุมไปด้วยบางสิ่งที่เป็นนามธรรม ไร้เจตจำนงเสรีใดๆ ไม่มีความยืดหยุ่นของกฎหมาย อีกทั้งการไต่สวนสอบสวนของผู้คุมฎหมายในหนังก็มักเป็นเหตุการณ์ที่ดูสะเปะสะปะ เน้นใช้วิจารณญาณ บวกกับการพูดความจริงของคู่ความทั้งสองฝ่ายสถานเดียว จึงทำให้เห็นวิธีการสอบสวนแบบนี้มันทำให้ ไม่ต่างจากเกมส์รถแข่ง ที่มีคนเหนือกว่าสลับกันไปแล้วแต่โอกาสอันเอื้ออำนวย ไม่มีความมั่นคงหรือแน่นอน ทั้งหมดทั้งมวลอาจกล่าวได้ภาพยนตร์ A Separation มีความสนุกเลื่อนไหลต่อเนื่องตลอด รวมทั้งการสนทนาที่ชาญฉลาด และการนำพาผู้ชมไปสู่จุดต่างๆ ทำได้อย่างดีมีมิติ จนอาจกล่าวได้ว่าผู้กำกับ พาผู้ชมไปสังเกตการณ์ในรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในสังคมเมืองของอิหร่านอย่างเลื่อนไหลและเป็นกันเอง มิหนำซ้ำหนังยังปิดลงด้วยมูลเหตุของเรื่องราวที่ยังปริศนาค้างคาใจในเรื่องความรู้สึกและความเชื่อ ว่าเราควรพฤติตัวอย่างไร เพื่อให้ได้สิ่งที่เรียกว่าความสุขสงบในจิตใจ ที่ทุกคนใฝ่หา
Tags: A Separation (2011) หนึ่งรักร้าง วันรักร้าว, Jodaeiye Nader az Simin (2011)